Sidebar

วิธีหาแหล่งงาน ..

งานแนะแนวการศึกษาและอาชีพ

 วิธีหาแหล่งงาน ..

 

 วิธีหาแหล่งงาน ..
วิธีหางาน
      มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีมีความรู้ความสามารถ แต่วางงานเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้เนื่องจาก ไม่ว่าจะสมัครงานที่ไหน
ดังนั้นการหาแหล่งงานนั้นสามารถหาได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
     1. หนังสือพิมพ์
          1.1 Bangkok Post ในคอลัมน์ Bangkok Post Classified
          1.2 The Nation ในคอลัมน์ Job Opportunities
          1.3 หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์ตลาดบ้านเมือง
          1.4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้าบริการทอง
          1.5 หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
          1.6 หนังสือพิมพ์มติชน
          1.7 หนังสือพิมพ์วัฎจักรรายวัน
          1.8 หนังสือพิมพ์สมัครด่วน
          1.9 หนังสือพิมพ์เดสินิวส์
          1.10 หนังสือพิมพ์ธุรกิจการงาน
      2. สำนักงาน ก.พ
         สำหรับผู้มุ่งเข็มว่าจะเป็นข้าราชการให้ได้ ก็ควรจะทำความรู้จักกับ ก.พ ให้ดีว่าคืออะไร และโอกาสเป็นข้าราชการนั้นมี
อยู่มากน้อยเท่าไรในปีหนึ่ง ๆ ในการรับบุคคลเข้าทำงานของรัฐนั้นจะต้องมีองค์กรกลางบริหารงานบุคคล คอยควบคุม
เกี่ยวกับการจ้างคนมารับราชการซึ่งมีหลายองค์กรด้วยกัน เช่น
          ก.พ รับผิดชอบเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป
          ก.พ ข้าราชการเกี่ยวกับข้าราชการครู
          ก.พ รับผิดชอบเกี่ยวกับข้าราชการตำรวจ เป็นต้น
          องค์กรกลางบริหารส่วนบุคคล จะเป็นผู้กำหนดกฎเกณธ์ วางระเบียบวิธีการบรรจะบุคคลเข้าทำงานด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง
          ในส่วนที่ ก.พ รับผิดชอบนั้น จะทำการสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐด้วยวิธีการ 4 ประการ
ดังนี้  คือ
          1. สอบคัดเลือก
          2. คัดเลือก ซึ่งเป็นข้อยกเว้นสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล เพื่อศึกษาต่อเพราะได้ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว
          3. ไม่ต้องเลือก เฉพาะที่สำเร็จาสายวิชาที่ขาดแคลน
          4. ไม่ต้องสอบ พวกที่ส่วนราชการเปิดสอน เช่น โรงเรียนไปรษณีย์ เป็นต้น และพวกที่ขออนุมัติเป็นการณีพิเศษจาก
ก.พ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน เมื่อสอบได้ก็จะขึ้นบัญชีไว้แล้วจัดส่งไปบรรจุตามกระทาวง ทบวง กรมต่าง ๆ มีอัตรา
ขอมา แต่ถ้าเป็นตำแหน่งเฉพาะงานที่ต้องการ บุคคลที่มีความชำนาญ ประสบการณ์และคุณสมบัติพิเศษ สำนักงาน ก.พ จะ
มอบให้ทางกรมเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยมีผู้แทน ก.พ ไปร่วมดำเนินการสอบด้วย
      3. หน่วยจัดหางานของมหาวิทยาลัย  วิทยาลัยทั้งของรัฐบาลและเอกชน จะมีหน่วยงานบริหารจัดหางาน และมี
บอร์ดติดประกาศข่าวการรับสมัครงานไว้ให้นักศึกษาดู สถาบันที่จัดหางานที่มีข่าวค่อนข้างมาก ได้แก่
           1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
           2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
           3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
           4. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
           5. ฝ่ายแนะแนวสำนักงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยทุกแห่ง
           6. อาจารย์ เพื่อนฝูง ญาติ พี่น้อง
           7. กองการจัดหางาน กรมแรงงาน
     4. กองการเจ้าหน้าที่หรทรวง กรมกองการต่าง ๆ
     5. วันนัดพบแรงงานที่แต่จังหวัดจัดขึ้น หรือหน่วยงานจัดขึ้น
          นักศึกษาสามารถที่จะทราบข่าวการรับสมัครงานจากกองการกิจการหางาน กรมแรงงาน บริษัทเอกชนหลายแห่ง
นิยมใช้บริการของกรมแรงงานในการหาบุคคลป้อนเข้าทำงานในบริษัท อันที่จริงกองการจัดหางานได้รับงานดี ๆ ไว้มาก แต่
หาคนไม่ได้ เนื่องจากนักศึกษามักเข้าใจว่า ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี จึงไม่ค่อยใช้บริการมากนัก ควรไป
สมัครลงชื่อไว้ที่กองการจัดหางานหรือสำนักจัดหางานซึ่งมีอยู่หลายแหล่งทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งหากมี
ตำแหน่งว่างงานและคุณสมบัติที่นายจ้างตองการตรงกับคุณวุฒิของผู้สมัคร ทางกองการจัดหางานก็จะส่งข่าวเรียกตัวมา
สมัครงาน สำหรับกองจัดหางานตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 สถาบันพัฒนาฝีมือ ถนนโรงปุ๋ยดินแดง ข้างศูนย์เยาวชน ( ไทย - ญี่ปุ่น )
 
    6.โฆษณาตนเองในสิ่งตีพิมพ์
    7. สมัครงานโดยตรงกับนายจ้าง  แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้
           7.1 กาาติดต่อสร้างงานด้วยตนเอง กรณีที่ทำงานของนายจ้าง ปัจจุบันบริษัทหลายแห่งใช้นโยบาย คือ เปิดรับสมัคร
ตลอดเวลา ถ้าหากเรามีคุณสมบัติตามที่เข้าข่ายที่บริษัทอาจจะเปิดรับในอนาคตอันใกล้นี้ เขาอาจจะเรียกเราสัมภาษณ์โดย
ทันที โดยทั่วไปบริษัทใหญ่ๆมักใช้แผนกบุคคลเพื่อสอบถาม ถ้าในขณะนั้นไม่มีตำแหน่งงานว่าง นายจ้างอาจจะให้ผู้สมัครทิ้ง
ไว้จนกว่าจะมีตำแหน่งงานว่าง จึงจะทำการคัดเลือกใบสมัคร
           7.2 ติดต่อสมัครงานโดยตรงกับการจ้างในรูปเอกสารสมัครงาน ส่งถึงนายจ้างแทนที่จะเดินทางไปสมัครด้วยตนเอง
วิธีนี้ผู้สมัครสามาถรติดต่อสมัครงานจำนวนมากแห่งเท่าที่ต้องการ ขอแนะนำว่า การติดต่อสมัครงานวิธีนี้จะได้ผลเมื่อ
ผู้สมัครสามารถเขียนเอกสารสมัครงานได้ ถูกต้องครบถ้วนและสามารถดึงดูดใจนายจ้างได้