วิธีหางาน
|
มีคนจำนวนไม่น้อยที่มีมีความรู้ความสามารถ แต่วางงานเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้เนื่องจาก ไม่ว่าจะสมัครงานที่ไหน |
ดังนั้นการหาแหล่งงานนั้นสามารถหาได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ |
1. หนังสือพิมพ์ |
1.1 Bangkok Post ในคอลัมน์ Bangkok Post Classified |
1.2 The Nation ในคอลัมน์ Job Opportunities |
1.3 หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์ตลาดบ้านเมือง |
1.4 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ หน้าบริการทอง |
1.5 หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ |
1.6 หนังสือพิมพ์มติชน |
1.7 หนังสือพิมพ์วัฎจักรรายวัน |
1.8 หนังสือพิมพ์สมัครด่วน |
1.9 หนังสือพิมพ์เดสินิวส์ |
1.10 หนังสือพิมพ์ธุรกิจการงาน |
2. สำนักงาน ก.พ |
สำหรับผู้มุ่งเข็มว่าจะเป็นข้าราชการให้ได้ ก็ควรจะทำความรู้จักกับ ก.พ ให้ดีว่าคืออะไร และโอกาสเป็นข้าราชการนั้นมี |
อยู่มากน้อยเท่าไรในปีหนึ่ง ๆ ในการรับบุคคลเข้าทำงานของรัฐนั้นจะต้องมีองค์กรกลางบริหารงานบุคคล คอยควบคุม |
เกี่ยวกับการจ้างคนมารับราชการซึ่งมีหลายองค์กรด้วยกัน เช่น |
ก.พ รับผิดชอบเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป |
ก.พ ข้าราชการเกี่ยวกับข้าราชการครู |
ก.พ รับผิดชอบเกี่ยวกับข้าราชการตำรวจ เป็นต้น |
องค์กรกลางบริหารส่วนบุคคล จะเป็นผู้กำหนดกฎเกณธ์ วางระเบียบวิธีการบรรจะบุคคลเข้าทำงานด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง |
ในส่วนที่ ก.พ รับผิดชอบนั้น จะทำการสมัครและคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐด้วยวิธีการ 4 ประการ |
ดังนี้ คือ |
1. สอบคัดเลือก |
2. คัดเลือก ซึ่งเป็นข้อยกเว้นสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาล เพื่อศึกษาต่อเพราะได้ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว |
3. ไม่ต้องเลือก เฉพาะที่สำเร็จาสายวิชาที่ขาดแคลน |
4. ไม่ต้องสอบ พวกที่ส่วนราชการเปิดสอน เช่น โรงเรียนไปรษณีย์ เป็นต้น และพวกที่ขออนุมัติเป็นการณีพิเศษจาก |
ก.พ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบแข่งขัน เมื่อสอบได้ก็จะขึ้นบัญชีไว้แล้วจัดส่งไปบรรจุตามกระทาวง ทบวง กรมต่าง ๆ มีอัตรา |
ขอมา แต่ถ้าเป็นตำแหน่งเฉพาะงานที่ต้องการ บุคคลที่มีความชำนาญ ประสบการณ์และคุณสมบัติพิเศษ สำนักงาน ก.พ จะ |
มอบให้ทางกรมเป็นผู้ดำเนินการสอบคัดเลือก โดยมีผู้แทน ก.พ ไปร่วมดำเนินการสอบด้วย |
3. หน่วยจัดหางานของมหาวิทยาลัย วิทยาลัยทั้งของรัฐบาลและเอกชน จะมีหน่วยงานบริหารจัดหางาน และมี |
บอร์ดติดประกาศข่าวการรับสมัครงานไว้ให้นักศึกษาดู สถาบันที่จัดหางานที่มีข่าวค่อนข้างมาก ได้แก่ |
1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
2. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
3. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
4. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ |
5. ฝ่ายแนะแนวสำนักงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยทุกแห่ง |
6. อาจารย์ เพื่อนฝูง ญาติ พี่น้อง |
7. กองการจัดหางาน กรมแรงงาน |
4. กองการเจ้าหน้าที่หรทรวง กรมกองการต่าง ๆ |
5. วันนัดพบแรงงานที่แต่จังหวัดจัดขึ้น หรือหน่วยงานจัดขึ้น |
นักศึกษาสามารถที่จะทราบข่าวการรับสมัครงานจากกองการกิจการหางาน กรมแรงงาน บริษัทเอกชนหลายแห่ง |
นิยมใช้บริการของกรมแรงงานในการหาบุคคลป้อนเข้าทำงานในบริษัท อันที่จริงกองการจัดหางานได้รับงานดี ๆ ไว้มาก แต่ |
หาคนไม่ได้ เนื่องจากนักศึกษามักเข้าใจว่า ส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี จึงไม่ค่อยใช้บริการมากนัก ควรไป |
สมัครลงชื่อไว้ที่กองการจัดหางานหรือสำนักจัดหางานซึ่งมีอยู่หลายแหล่งทั่วกรุงเทพและต่างจังหวัดทุกจังหวัด ซึ่งหากมี |
ตำแหน่งว่างงานและคุณสมบัติที่นายจ้างตองการตรงกับคุณวุฒิของผู้สมัคร ทางกองการจัดหางานก็จะส่งข่าวเรียกตัวมา |
สมัครงาน สำหรับกองจัดหางานตั้งอยู่ที่ ชั้น 2 สถาบันพัฒนาฝีมือ ถนนโรงปุ๋ยดินแดง ข้างศูนย์เยาวชน ( ไทย - ญี่ปุ่น ) |
|
6.โฆษณาตนเองในสิ่งตีพิมพ์ |
7. สมัครงานโดยตรงกับนายจ้าง แบ่งเป็น 2 ลักษณะดังนี้ |
7.1 กาาติดต่อสร้างงานด้วยตนเอง กรณีที่ทำงานของนายจ้าง ปัจจุบันบริษัทหลายแห่งใช้นโยบาย คือ เปิดรับสมัคร |
ตลอดเวลา ถ้าหากเรามีคุณสมบัติตามที่เข้าข่ายที่บริษัทอาจจะเปิดรับในอนาคตอันใกล้นี้ เขาอาจจะเรียกเราสัมภาษณ์โดย |
ทันที โดยทั่วไปบริษัทใหญ่ๆมักใช้แผนกบุคคลเพื่อสอบถาม ถ้าในขณะนั้นไม่มีตำแหน่งงานว่าง นายจ้างอาจจะให้ผู้สมัครทิ้ง |
ไว้จนกว่าจะมีตำแหน่งงานว่าง จึงจะทำการคัดเลือกใบสมัคร |
7.2 ติดต่อสมัครงานโดยตรงกับการจ้างในรูปเอกสารสมัครงาน ส่งถึงนายจ้างแทนที่จะเดินทางไปสมัครด้วยตนเอง |
วิธีนี้ผู้สมัครสามาถรติดต่อสมัครงานจำนวนมากแห่งเท่าที่ต้องการ ขอแนะนำว่า การติดต่อสมัครงานวิธีนี้จะได้ผลเมื่อ |
ผู้สมัครสามารถเขียนเอกสารสมัครงานได้ ถูกต้องครบถ้วนและสามารถดึงดูดใจนายจ้างได้ |