จรรยาบรรณครู คือ หลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพครู เพื่อเป็นเกณ์แห่งความประพฤติและการปฏิบัติตนของเป็นของครูซึ่งเป็นอาชีพที่ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเป็นที่ยอมรับของสังคม
จรรยาบรรณครู .. |
จรรยาบรรณครู จรรยาบรรณครู คือ หลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพครู เพื่อเป็นเกณ์แห่งความประพฤติและการปฏิบัติตนของเป็นของครูซึ่งเป็นอาชีพที่ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี และเป็นที่ยอมรับของสังคม (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา 2543 ; 1-20) ระเบียบคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 กำหนดให้ครูมีจรรยาบรรณดังต่อไปนี้ 1. ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์ โดยเสมอหน้า 2. ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ 3. ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจาและจิตใจ 4. ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสัมคมของศิษย์ 5. ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสันจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ ตามปรกติและไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ 6. ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยากร เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ 7. ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู 8. ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์ 9. ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย จรรยาบรรณครูทั้ง 9 ข้อ เปรียบเสมือน "ศิลธรรม" ของครูที่มีทั้งข้อห้ามและข้อที่ต้องปฏิบัติหรือควรปฏิบัติตน ของครู ซึ่งมีหลักการจำง่าย ๆ คือ "5 ต้อง 2 ย่อม 2 พึง" สรุปดังแผนภาพ
|
|