Sidebar

เสมาพัฒนาคุณธรรมตามพระราชดำรัส

งานบริการชุมชนและสังคม

เสมาพัฒนาคุณธรรมตามพระราชดำรัส

พระราชดำรัส
"ความเพียร" ที่ถูกต้องเป็นธรรมและพึงประสงค์นั้น คือ ความเพียรที่จะกำจัด
ความเสื่อมให้หมดไปและระวังป้องกันมิให้เกิดขึ้นใหม่อย่างหนึ่งกับความเพียร
ที่จะสร้างสรรค์ความดี ความเจริญให้บังเกิดขึ้น และระวังรักษามิให้เสื่อมสิ้นไป
อย่างหนึ่ง

ความเพียรทั้งสองประการนี้ เป็นอุปการะอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติตนปฏิบัติ
งาน ถ้าทุกคนในชาติจะได้ตั้งตนตั้งใจอยู่ในความเพียรดั้งกล่าว ประโยชน์
และความสุขก็จะบังเกิดขึ้น พร้อมทั้งแก่ส่วนตัวและส่วนร่วม
(พระราชทานในราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ ๕๐ ปี ณ สนาม
หลวง เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙

พระราชดำรัส
"ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมดการทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย

จึงไม่ใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดีหากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองควบคุมคนไม่ดีให้มีอำนาจไม่ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้"

(พระราชทานในงานชุมชนลูกเสือแห่งชาติ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ ชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๒)

คนดี    ไม่หยิบของคนอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ
คนดี    แบ่งขนมให้น้องและเพื่อนๆ
คนดี    ให้เพื่อนยืมของใช้ได้
คนดี    ช่วยแนะนำเมื่อเพื่อนไม่เข้าใจการเรียน
คนดี    ช่วยเหลือคนพิการและคนแก่
คนดี    เชื่อฟังคุณพ่อคุณแม่ ไม่ทำให้ท่านโกรธ
รู้สึกยินดีเมื่อเพื่อนทำความดี โดยไม่คิดอิจฉา
ปกป้องคนดีมิให้คนชั่วมารังแก
ให้กำลังใจแก่คนทำดี
ชมเชยคนสวนที่ทำให้ดอกไม้ออกดอกสวยงาม
ทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน

พระราชดำรัส
้   "คนไทยเราที่รักษาเอกราชอธิปไตยไว้ได้ ก็โดยอาศัยการที่ รู้รักสามัคคีและ
รู้จักทำหน้าที่ของแต่ละฝ่ายให้ประสานส่งเสริมกัน"

(พระราชทานในวโรกาสเสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนพรรษา

ณ ศาลาดุสิตดาราม เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๔)
"สามัคคีนั้นในความเข้าใจโดยทั่วไปมักจะหมายถึงความยึดเหนี่ยวกันไว้ให้
เป็นปึกแผ่นแน่นหนา  ถ้าเป็นเพียงเท่านั้นก็จะดูไม่มีคุณค่าเพราะไม่ก่อให้เกิด
ประโยชน์อันใด ความสามัคคีควรจะมีความหมายลึกซึ้งกว่านั้นอีกด้วย เช่นควร
จะหมายความถึงความพร้อมเพียงของทุกฝ่ายและทุกคนที่มีความสำนึกแน่ชัด
ในความรับผิดชอบที่จะถึงใช้ความรู้ ความคิด ความสามารถ ตลอดจนคุณสมบัติทุกๆประการของตน

ให้ประกอบเข้าด้วยกันและให้เกื้อกูลส่งเสริมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นสาระแก่นสารและที่เป็นประโยชน์เป็นความเจริญต่อส่วนรวมและเพื่อนมนุษย์ "
(พระราชทานเพื่อเชิญให้อ่านในการประชุมใหญ่ประจำปีของสามัคคีสมาคม
ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๓๐)

สามัคคีคือพลัง รวมกันเราอยู่
พี่น้องช่วยเหลือกัน เพื่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูล
กินด้วยกัน เล่นด้วยกัน ไปเที่ยวด้วยกัน
ช่วยกันคิค ช่วยกันทำ ไม่ใช่ต่างคนต่างคิด ต่างทำ
รวมตัวช่วยสังคมเพื่อส่วนรวมประโยชน์นั้นจะย้อนมาหาตัวเอง
เลิกคิดเห็นแก่ตัว และเอาตัวรอดเพียงคนเดีย

พระราชดำรัส
้       "คุณธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนั้น...ประการหนึ่ง  ได้แก่ การให้  คือให้
การสงเคราะห์ช่วยเหลือกัน ให้อภัยไม่ถือโทษกัน ให้คำแนะนำตักเตือนที่ดีต่อกันประการที่สองได้แก่ การมีวาจาดี คือ พูดแต่สัจคำจริงต่อกัน พูดให้กำลังใจกันพูดแนะนำประโยชน์ให้แก่กัน และพูดให้รักใคร่ปรองดองกัน ประการที่สามได้แก่การทำประโยชน์ให้แก่กัน คือ ประพฤติปฏิบัติตนให้เกิดประโยชน์เกื้อกูล ทั้งแก่กันและกันและแก่หมู่คณะโดยส่วนรวม ประการที่สี่ ได้แก่ การวางตัวได้สม่ำเสมออย่าง เหมาะสม คือ ไม่ทำตัวให้ดีเด่นเกินกว่าผู้อื่นและไม่ด้อยต่ำทรามไปจากหมู่คณะหมู่คณะใดมีคุณธรรมยึดเหนี่ยวไว้ดังกล่าว หมู่คณะนั้น ย่อมจะมีความสุขมั่นคง"
(พระราชทานแก่สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ในการเปิดประชุมประ
จำปีเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๒๕)

คนมีน้ำใจ ช่วยเหลือคุณพ่อคุณแม่ทำงานบ้าน
คนมีน้ำใจ ช่วยเหลือคูณครูเมื่อมีโอกาส
คนมีน้ำใจ ช่วยเก็บโต๊ะ เก้าอี้เรียนให้เข้าที่
คนมีน้ำใจ ช่วยพาเพื่อนไม่สบายไปห้องพยาบาล
คนมีน้ำใจ ช่วยแนะนำเพื่อนใหม่ที่เพียงเข้ามาเรียน
คนมีน้ำใจ ช่วยเหลือคนแก่และคนพิการ
แบ่งปั้นของเล่นให้เพื่อนรวมทั้งของใช้
ช่วยสอนน้องทำการบ้าน
แบ่งปันที่นั่งบนรถประจำทางให้ผู้อื่นได้นั่งด้วย
ให้อภัยแก่ผู้ที่มาขอโทษ
ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น ในยามที่เดือดร้อน
ให้พ่อหยุดรับเพื่อนที่ไปทางเดียวกัน

พระราชดำรัส
"การประหยัดเป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่งในทุกแห่งและในการทุกเมื่อ"
(พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสถาบันเทค
โนโลยีพระจอมเกล้า เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑ )


คนประหยัด รู้จักเก็บออมทรัพย์ไว้ใช้เมื่อยามขัดสน
คนประหยัด  รู้จักประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ และทรัพยากร
คนประหยัด  รู้จักใช้ของใช้ทุกอย่างอย่างคุ้มค่า
คนประหยัด  รู้จักนำของใช้แล้วมาเวียนใช้ได้ใหม่
คนประหยัด  รู้จักซ่อมแซมของใช้ที่แตกหักเสียหายและนำมาใช้ใหม่ได้
ช่วยกันดับไฟฟ้าดวงที่ไม่ใช้
กินข้าวให้หมดจาน ไม่ตักอาหารมากจนเหลือทิ้ง
ปิดน้ำฝักบัวตอนถูสบู่
ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนกระดาษทิชชู
ไม่ฟุ่มเฟื่อยกับสิ่งของที่ไม่จำเป็น

พระราชดำรัส
"การที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีนั้นนอกจากความรู้ความสามารถแล้ว และยังต้องเป็นผู้ประกอบด้วย

ความซื้อสัตย์สุจริต และการตั้งตนไว้ในทางที่ชอบที่ควรสมเกียรติด้วย    
"(พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๙ )

คนซื่อสัตย์  รู้จักคิด รับผิดในสิ่งที่ตัวเองทำ
คนซื่อสัตย์ เก็บของได้คืนเจ้าของ
คนซื่อสัตย์  ไม่ลอกข้อสอบ และขยันตั้งใจเรียน
คนซื่อสัตย์ ไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของตน
ขอหรือซื้อผัก ผลไม้ริมถนนจากเจ้าของ
เก็บของตกได้คืนเจ้าของ
คืนเงินให้แก่แม่ค้าที่ถอนเงินเกิน
ไม่เอาของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยไม่ได้รับอนุญาต
ไม่พูดเท็จเพื่อประโยชน์ตนเอง


 

พระราชดำรัส
้       "คำว่าพอเพียง มีความหมายว่า พอมีพอกิน เศรษฐกิจแบบพอเพียง
หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องไปขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตัวเอง
แปลจากภาษาฝรั่งได้ว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง หมายความว่าสองขาของเรายืน
บนพื้นให้อยู่ได้ไม่หกล้มไม่ต้องไปขอยืมขาของคนอื่นเพื่อที่จะยืนอยู่
คำว่า พอ คนเราถ้าพอในนความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อ
มีความโลภน้อยก็เบียดคนอื่น.......พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้
ควรคิดว่าทำอะไรพอเพียง.......ถ้าใครมีใครคิดอย่างหนึ่งและต้องการ
ให้มีความคิดอย่างเดียวกันซึ่งอาจไม่ถูกอันนี้ก็ไม่ใช้พอเพียงในความคิดก็คือ
เสนอความคิดของตัว และปล่อยให้คนอื่นได้พูดบ้าง และไปพิจารณาว่าที่เขา
พูด อันไหนพอเพียงอันไหนเข้าเรื่อง ถ้าไม่เข้าเรื่องก็ไปแก้ไขเพราะถ้าพูดกัน
โดยที่ไม่รู้เรื่องจะกลายเป็นการทะเลาะ.....ฉะนั้นความพอเพียงก็แปลว่าความ
พอประมาณและความมีเหตุผล"
(พระราชทานในโอกาสที่คณะบุคคลต่างๆ จำนวน ๒๐,๐๐๙ คน เข้าเฝ้า
ถวายพระพรชัยมงคลในวโรกาส วันเฉลิมพระชนพรรษา ณ ศาลาดุสิตดาลัย
เมือวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑)

สุภาษิต    นกน้อยทำรังแต่พอตัว

ไมตรี หมายถึง ความเป็นเพื่อน ความหวังดีต่อกัน ไมตรีเหมือนต้นไม้ที่ต้องปลูกและบำรุงรักษา

มิฉะนั้นจะเสื่อมโทรมสิ้นสูญไป วิธีปลูกและรักษาไมตรีนั้นมีหลายวิธี ซึ่งพอยกตัวอย่างได้ดังนี้
๑. วาจาประทับใจ                            ๗. สานสัมพันธ์
๒. ให้รางวัล                                    ๘. แบ่งบันประโยชน์
๓. ของขวัญของฝาก                         ๙. ละโกรธเศร้าหมอง
๔. อยากช่วยทำ                               ๑๐. มองโลกแง่ดี
๕. จำต้องทน                                   ๑๑. มีคุณธรรม
๖.ค้นความต้องการ
คนมีไมตรี   ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก
คนมีไมตรี   ยิ้มเสมอเมื่อเจอทุกข์ภัย
คนมีไมตรี   สร้างสรรค์สิ่งดีๆ เสมอ 
รับฟังเพื่อนโดยไม่ขัดคอ
ไปเยี่ยมเพื่อนเมื่อยามเจ็บป่วย
ให้ยืมหนังสือการ์ตูนไปอ่าน
หัวเราะเมื่อเพื่อนเล่าเรื่องตลก
ไม่นินทาว่าร้ายกัน
อยู่เคียงข้างเพื่อนทั้งยามสุขและทุกข์

 

คนดีมีเมตตา เห็นอกเห็นใจ ถ้อยทีถ้อยอาศัย
ความมีเมตตาเผื่อแผ่แก่ทุกคน เป็นการจรรโลงความสงบสุขชาวโลก
การแผ่เมตตาทำให้จิตใจเบิกบานสว่างไสวมีความสุข
เมตตาค้ำจุนโลก
คนมีเมตตา   ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
คนมีเมตตา    ย่อมไม่รังแกสัตว์
ปลอบเพื่อนที่กำลังเสียใจให้คลายทุกข์
ไม่หัวเราะเยาะเพื่อนเมื่อเพื่อนทำพลาด
ไม่เอาเรื่องความผิดของคนอื่นไปประจาน
ช่วยพยุงคนแก่  คนพิการข้ามถนน
ไม่เหน็บแนมต่อว่าเมื่อเข้าทำผิดเล็กน้อย
ช่วยเหลือสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ